การใช้คอมพิวเตอร์ในห้องทดลองด้านการแพทย์
ปัจจุบันนี้แพทย์ใช้การทดลองประกอบการวินิจฉัยมากขึ้น เช่น ให้ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และอุจจาระเป็นต้น โรงพยาบาลและห้องทดลองต่างๆ จึงได้เพิ่มจำนวนพนักงาน จ้างนิสิตนักศึกษามาทำงานในระหว่างการศึกษาปรับปรุงวิธีการทดลองให้ง่ายขึ้น จัดหาเครื่องมือที่สามารถช่วยวัดผลให้รวดเร็วขึ้น จนในที่สุดสามารถทำการทดลองให้เสร็จสิ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่บ้างในแง่ที่ว่าแม้จะทำการทดลองได้ผลในเวลารวดเร็ว แต่แพทย์จะต้องรออยู่เป็นเวลานานจึงจะได้รับผล ฉะนั้น เมื่อได้รับผลจึงอาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตามจุดต่างๆ เพื่อให้ผลถึงมือแพทย์รวดเร็วขึ้น
เริ่มจากจุดที่ห้องทดลองได้รับตัวอย่าง (specimens)จากคนไข้พร้อมกับใบสั่งจากแพทย์ว่าให้ทดสอบอะไรบ้างพนักงานห้องทดลองจะต้องจัดเตรียมลำดับการทดสอบว่าจะทำอะไรก่อนหลังอย่างไร ถ้าห้องทดลองมีงานมากมายคอมพิวเตอร์ก็อาจช่วยจัดกำหนดตารางเวลาการทดลองให้และช่วยส่งผลการทดลองให้คนไข้ได้ถูกต้อง
สถานเอกซเรย์บางแห่งในสหรัฐอเมริกา ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานเอกซเรย์ ซึ่งสามารถตรวจดูว่าปอดนั้นปกติหรือไม่ ถ้าปกติก็แจ้งผลให้ได้ทันที โดยไม่ต้องรบกวนแพทย์ ถ้าไม่ปกติจึงจะส่งให้แพทย์วินิจฉัยต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์โทโมกราฟี (tomography) ใช้สำหรับเอกซเรย์ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทุกส่วนห้องทดลองแต่ละแห่งอาจจะต้องทำการทดลอง ๕๐ -๗๐ อย่าง หรือมากกว่านั้น ในการทดลองแต่ละชนิดแต่ละครั้ง ก็อาจจะใช้วิธีชั่งตวงวัดแบบต่างๆ ใช้วิธีผสมสารเคมีให้เกิดสีต่างๆ ใช้วิธีความร้อนวัดความเร็วในการทำปฏิกิริยา หรือใช้เครื่องวัดเป็นกระแสไฟฟ้าว่าคงที่ หรือเพิ่มขึ้น หรือลดลง ห้องทดลองใหญ่ๆ อาจมีเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ (auto analyzer) หลายเครื่อง แต่ละเครื่องทำการวิเคราะห์ได้ประมาณ ๖๐ ตัวอย่างต่อชั่วโมง ในวันหนึ่งๆ พนักงานคนหนึ่งอาจต้องอ่านตารางหรือกราฟถึงพันครั้ง เพื่อให้ได้ตัวเลขซึ่งจะต้องนำไปคำนวณปรับอีกนับพันครั้ง เพื่อควบคุมคุณภาพของการทดลอง (quality control) ทั้งนี้เพราะเครื่องมักจะเกิดการคลาดเคลื่อน(drift) และการที่พนักงานแต่ละคนต้องอ่านตารางหรือกราฟและคำนวณเป็นพันๆ ครั้งเช่นนี้ ทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่ายเพราะคนเรานั้นเมื่อต้องทำงานอะไรซ้ำๆ มากๆ ก็เกิดอาการเบื่อหน่าย เมื่อยล้า ฉะนั้นในต่างประเทศจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ต่อเข้ากับเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ และคำนวณหาผลการทดลองได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
จากผลการทดลองที่คอมพิวเตอร์ได้รับนั้น คอมพิวเตอร์สามารถพิมพ์รายงานผล ส่งให้แพทย์ผู้สั่งการทดลองบันทึกประวัติคนไข้และจัดทำสถิติต่างๆ สำหรับใช้ในการบริหารต่อไป
เริ่มจากจุดที่ห้องทดลองได้รับตัวอย่าง (specimens)จากคนไข้พร้อมกับใบสั่งจากแพทย์ว่าให้ทดสอบอะไรบ้างพนักงานห้องทดลองจะต้องจัดเตรียมลำดับการทดสอบว่าจะทำอะไรก่อนหลังอย่างไร ถ้าห้องทดลองมีงานมากมายคอมพิวเตอร์ก็อาจช่วยจัดกำหนดตารางเวลาการทดลองให้และช่วยส่งผลการทดลองให้คนไข้ได้ถูกต้อง
สถานเอกซเรย์บางแห่งในสหรัฐอเมริกา ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานเอกซเรย์ ซึ่งสามารถตรวจดูว่าปอดนั้นปกติหรือไม่ ถ้าปกติก็แจ้งผลให้ได้ทันที โดยไม่ต้องรบกวนแพทย์ ถ้าไม่ปกติจึงจะส่งให้แพทย์วินิจฉัยต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์โทโมกราฟี (tomography) ใช้สำหรับเอกซเรย์ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทุกส่วนห้องทดลองแต่ละแห่งอาจจะต้องทำการทดลอง ๕๐ -๗๐ อย่าง หรือมากกว่านั้น ในการทดลองแต่ละชนิดแต่ละครั้ง ก็อาจจะใช้วิธีชั่งตวงวัดแบบต่างๆ ใช้วิธีผสมสารเคมีให้เกิดสีต่างๆ ใช้วิธีความร้อนวัดความเร็วในการทำปฏิกิริยา หรือใช้เครื่องวัดเป็นกระแสไฟฟ้าว่าคงที่ หรือเพิ่มขึ้น หรือลดลง ห้องทดลองใหญ่ๆ อาจมีเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ (auto analyzer) หลายเครื่อง แต่ละเครื่องทำการวิเคราะห์ได้ประมาณ ๖๐ ตัวอย่างต่อชั่วโมง ในวันหนึ่งๆ พนักงานคนหนึ่งอาจต้องอ่านตารางหรือกราฟถึงพันครั้ง เพื่อให้ได้ตัวเลขซึ่งจะต้องนำไปคำนวณปรับอีกนับพันครั้ง เพื่อควบคุมคุณภาพของการทดลอง (quality control) ทั้งนี้เพราะเครื่องมักจะเกิดการคลาดเคลื่อน(drift) และการที่พนักงานแต่ละคนต้องอ่านตารางหรือกราฟและคำนวณเป็นพันๆ ครั้งเช่นนี้ ทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่ายเพราะคนเรานั้นเมื่อต้องทำงานอะไรซ้ำๆ มากๆ ก็เกิดอาการเบื่อหน่าย เมื่อยล้า ฉะนั้นในต่างประเทศจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ต่อเข้ากับเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ และคำนวณหาผลการทดลองได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
จากผลการทดลองที่คอมพิวเตอร์ได้รับนั้น คอมพิวเตอร์สามารถพิมพ์รายงานผล ส่งให้แพทย์ผู้สั่งการทดลองบันทึกประวัติคนไข้และจัดทำสถิติต่างๆ สำหรับใช้ในการบริหารต่อไป